
ครู ผู้ปกครอง นักเรียน ประท้วงผู้บริหารโรงเรียนบูรพาวิทยา
หลังจากที่มีปัญหาการร้องเรียนเกิดขึ้น ณ โรงเรียนบูรพาวิทยา ที่ตั่งอยู่ที่ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ได้เกิดมีความพยายามปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร การรมตัวครองครู ผู้ปกครอง และนักเรียนทุกรูปแบบ รวมไปถึงการจัดตั้งเครือข่ายผู้ปกครอง ที่ตลอด ระยะเวลาที่ผ่านมา นับตั้งแต่โรงเรียนเปิดในปี พ.ศ. 2549 ภายใต้ พรบ.การศึกษา ฉบับปี 2542 ไและแทบไม่มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนใดๆ ให้พ่อแม่ผู้ปกครอง และครูได้ทำร่วมกัน โดยเฉพาะในช่วงปีการศึกษา 2552 ไม่มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ไม่มีการจัดกิจกรรมระหว่างผู้ปกครอง และนักเรียน
ไม่มีการพาไปทัศนศึกษา
ไม่มีการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ
แต่เป็นที่น่าแปลกใจที่กลับผ่านการตรวจสอบรับรองจาก สมศ. ซึ่งเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อมากๆ
อันเนื่องมาจาก การบริหารการจัดการทั้งหมด ทั้งด้านการเงิน ธุรการ การดูแลบริหาร ไม่ได้เป็นสิทธิขาดอยู่ในอำนาจของผู้อำนวยการโรงเรียนเหมือนโรงเรียนทั่วไปแต่อย่างใด แม้จะดูเหมือนอยู่ที่คณะกรรมการโรงเรียน แต่แท้จริงแล้วเป็นเพียงหุ่นเชิดของประธานโรงเรียนบูรพาวิทยา นายบุญชัย กีรติยุตวงษ์ อันเป็นผู้ได้รับแต่งตั้งจากมูลนิธิให้มาเป็นผู้ขอรับอนุญาตตั้งโรงเรียน รวมถึงบิดา นายเม่งหลี กีรติยุตวงษ์ ประธานมูลนิธิ ผู้ที่ได้รับบริจาคที่ดินและออกเรี่ยไรเงินจากพ่อค้าประชาชน มาสร้างโรงเรียน แต่ทว่ากลับเป็นการนำเอาทรัพย์สินที่ได้รับบริจาคมาใส่ชื่อบุคคลอันเป็นบริวาร เป็นญาติพี่น้องและเป็นบุตรชาย ของตนเอง
ดังจะเห็นได้จาก
เก็บเงินบริจาคจากผู้ปกครอง โดยระบุการรับบริจาคว่า ไปซื้อที่ดิน แต่ไม่มีใบเสร็จให้ผู้บริจาค
เก็บเงินไปซื้อที่ดิน แต่ไปใส่ชื่อที่ดินว่าตนเองเป็นผู้ซื้อ
นำเงินบริจาค ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ เพราะโรงเรียนบูรพาวิทยาสังกัดภายใต้มูลนิธิส่งเสริมศีลธรรมชลบุรี
การออกเรี่ยไรเงินบริจาค จากพ่อค้าประชาชน ตามงานต่างๆ อาทิ ไปรับเงินบริจาคจากงานศพบุคคลสำคัญ, การไปดำเนินรับเงินบริจาคจากผู้บริจาคประจำทุกปี
การปกปิดโยกย้ายบัญชีบริจาคระหว่างมูลนิธิและโรงเรียนบูรพาวิทยา โดยนายธวัชฯ ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการโรงเรียน นักบัญชีของมูลนิธิ ผู้จัดทำและยื่นบัญชีมูลนิธิ และยังเป็นผู้จัดการส่วนธุรการและบัญชี เพราะมีใบนักตรวจสอบบัญชีอิสระ
การโยกย้ายทรัพย์สินของผู้บริจาคไปใช้และลงชื่อส่วนตัว
การเปลี่ยนแปลงวัตุประสงค์ของผู้บริจาคเพื่อสร้างกุศลไม่แสวงหากำไร อาทิ
การทำกำไรจากเครื่องเขียนแบบเรียน และการเก็บค่าเรียนพิเศษ
การทำกำไรจากค่าเข้าค่าย
การทำกำไรจากค่าอาหารรายหัวที่รัฐบาลจ่ายให้ ฯลฯ
การทำกำไรจากส่วนต่างเบี้ยประกันภัยและเงื่อนไขการรับประกัน และหวังผลเรื่องยอดเงินประกันแลกเปลี่ยนกับส่วนลดเงินสดของผู้แทนจำหน่ายประกัน และยังไปซื้อประกันจากสำนักงานผู้ขายประกันในจังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อหวังผลให้การดูแลไม่ต่อเนื่อง ขาดความสะดวก เพื่อใหผู้ปกครองสำรองเงินจ่าย ทำให้การเคลมเงินต้องผ่านโรงเรียนก่อน ทำให้ไปสร้างสมดุลในการเดินบัญชีของโรงเรียนให้มีความเคลื่อนไหวทั้งการออกและเข้าในบัญชี เพื่อยากต่อการตรวจสอบอีกหนึ่งช่องทาง
การสะสมเงินบริหารที่รัฐบาลจ่ายเพื่อไปโยกย้ายบัญชีเงินสะสมจากการบริหาร เพื่อหวังผลจากนโยบายราชการ ที่จะมอบให้ผุ้บริหารโรงเรียนที่มีเงินเหลือคืนรัฐ 40% ร่างกฏหมายจะออกในเร็วๆ นี้ หากเหลือ 20 ล้านจะได้ เงิน 8 ลล้านบาท ไปแบ่งจัดสรรในผุ้บริหาร
การนำเงินโรงเรียนไปถมที่ดิน ของตนเอง เพื่อปรับเป็นค่ายพักแรมและเรียกเก็บเงินค่าพักแรมสูงถึงหัวละ 100 บาท และยังเบิกซ้ำซ้อนจากบัญชีโรงเรียน
การนำเงินไปซื้ออุปกรณ์ ที่ไม่เกี่ยวกับกิจการโรงเรียน
การนำทรัพย์สินไปใข้ในกิจการส่วนตัว
การเก็บค่าเช่า จากร้านค้าในราคาแพง ทำให้การขายให้นักเรียนขาดคุณภาพและมีราคาแพง ไม่คุ้มค่าเหมือนปรกติ
การไม่แสดงเงินบริจาคในบัญชีงบดุล การทำบัญชีโดยเน้นกำไร ผิดวัตถุประสงค์บัญชีมูลนิธิที่ไม่แสวงหากำไร
ทั้งนี้เริ่มเรื่องการร้องเรียนมาจาก เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2553 ผู้ปกครองทั้งหมดได้รวมตัวกันทวงสิทธิประโยชน์โดยให้เหตุผลว่าโรงเรียนแห่งนี้เป็นโรงเรียนเปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีเด็กนักเรียนมีทั้งสิ้นเกือบ 2,000คน
ค่าหัวและรายได้จากเด็กนักเรียนที่ได้รับในแต่ละปีจากงบประมาณที่รัฐบาลจ่ายให้เด็กนักเรียนบูรพาวิทยาทุกคน ได้ปีละไม่ต่ำกว่า 21 ล้านบาท นับจากปี 2549 รวมเป็นเงินกว่า 80 ล้านบาท
แต่ไม่มีการนำมาพัฒนาการเรียนการสอนให้ดีกว่านี้ ทัง้ที่มีโครงการเรียนฟรี 15 ปี ที่รัฐบาลให้เงินค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพิ่มเติมอีกหลายล้านก็ไม่มีการจัดกิจกรรมให้เด็กเงิน ทำให้เป็นที่น่าสงสัยว่าเอาเงินไปใช้ทำอะไรหมด ใช้ถูกด้านตามวัตถุประสงค์หรือไม่
เงินที่โรงเรียนขอบริจาคจากผู้ปกครองปีหนึ่งไม่ต่ำกว่า 400,000บาท ไปไหน รวม 4 ปี ไม่น่าจะตำกว่า 2,000,000 บาท และยังไม่รวมค่าโต๊ะเก้าอี้ที่ขอเงินบริจาคจากผู้ปกครอง ค่าพัดลมที่รับเงินทุกปีไปติดแล้วถอดเก็บทุกสิ้นเทอม แล้วมาวนเรียกเก็บเงินใหม่
เงินค่าซื้อที่ดินเพิ่ม น่าจะไม่ตำกว่า 6,000,000 บาท
ค่าเรียนพิเศษเก็บเด็ก 2,000บาทต่อคนต่อปี รวมแล้วกว่า 3,000,000 นำไปจ่ายครูแค่ 30% ที่เหลือเงินอยู่ไหน รวมสองปีที่เริ่มเก็บค่าเรียนพิเศษ ตามที่เขตการศึกษาส่งซิกให้เก็บได้ตามอำเภอใจกว่า 7 ล้านบาท
ค่าเสื้อกีฬาสีเก็บเด็กคนละ 120 บาท รวมเกือบ 200,000บาทแต่กลับใช้งบของโรงเรียนซื้อ รวม 4 ปี ไม่ตำกว่า 700,000 บาท
นอกจากนี้ในปีการศึกษา 2553 นี้ทางประธานโรงเรียนได้มีหนังสือถึงเขตการศึกษา ในการขออนุญาติยุบโรงเรียน โดยได้ยุบชั้นมัธยม1-3ออกอีกเหลือเพียงแต่แค่ชั้น ป.6
ทำให้นายคเชนเทพ หาญณรงค์ ผ.อ โรงเรียนแห่งนี้ได้ลาออกไป ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน ที่ผ่านมาเพราะหมดความอดทนในการอยู่ต่อสู้ในหน้าที่ผู้อำนวยการเพื่อเด็กๆ ต่อไป
เพราะว่า อำนาจหน้าที่สิทธิขาดในการบริหาร การเซ็นเช็คในโรงเรียนแห่งนี้ ทางมูลนิธิส่งเสริมศีลธรรมเป็นผู้แต่งตั้งนายบุญชัย ลูกชายประธานมูลนิธิ ให้เข้ามาใช้อำนาจป่าเถื่อนในการจัดการบริหารโรงเรียน ข่มขู่คุกคาม จน ผ.อ ไม่สามารถที่จะทำอะไรได้
อาทิ การของบประมาณเพื่อที่จะขอเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำห้องสมุดให้เด็กนักเรียนแต่ก็ไม่มีการอนุมัติจากทางมูลนิธิ ทำให้ ผอ.โรงเรียน หมดสิทธิที่ควรจะมีในการที่จะพัฒนาโรงเรียนให้มีความเจริญก้าวหน้าได้
แถมยังถูกทางมูลนิธิ นายเม่งหลี และนายบุญชัย ข่มขู่ว่าให้อยู่เฉยๆ ถ้าไม่อยากตาย ไม่งั้นจะเดือดร้อน
ทำให้ทางนายคเชนเทพ จึงต้องลาออกไปด้วยช้ำใจเมื่อ ผอ.ท่านอื่นๆ เพราะเมือตัวเองเป็น ผ.อ แท้ๆ แต่บริหารจัดการโรงเรียนไม่ได้ ส่วนบรรดาผู้ปกครองทั้งหลายเมื่อรู้ว่า ผ.อ ลาออกไปได้รู้ตื้นลึกหนาบางมากขึ้น จากการที่ ผอ.คเชนทร์เทพ ได้ทำหนังสือชี้แจงเหตุผลที่ลาออก จึงได้มารวมตัวขอพบผู้บริหารมูลนิธิเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2553 แต่ไม่มีผู้ใดออกมาพบ
ทำให้เพิ่มน้ำหนักในการยืนยันได้ว่า มีการโกงกินกันภายในคณะกรรมการผู้บริหารมูลนิธิและบริหารโรงเรียน จริงอย่างแน่นอน และมาเริ่มชัดเจนขึ้นตามลำดับ โดยผู้ปกครองส่วนใหญ่ ให้ทรรศนะที่ตรงกันมากว่า เหตุผลที่ออกมาร้องเรียน ไม่ใช่เพราะผู้ปกครองไปมีผลประโยชน์ เพราะเป้นที่ทราบดีว่าโรงเรียนอยู่ในรูปมูลนิธิ ที่ต้องไม่แสวงหากำไร แต่ทว่าว่าลูกๆ เด็กนักเรียน กลับถูกบิดเบือนว่า เรียนฟรีโดยมุลนิธิ เพราะจริงๆ แล้วมูลนิธิแสวงหากำไรไม่ได้จากกิจกรรมหรือซื้อขายวัสดุเสื้อผ้า เครื่องเขียน ่รวมถึงคาเช่าใดๆ และเด็กๆ ไม่ได้เรียนฟรีเพราะเงินมูลนิธิ เพราะเงินทุกอย่างที่โรงเรียนได้รับไม่ได้มาจากเงินมูลนิธิ แต่เป็นเงินรัฐบาลให้อุดหนุน 100%
แต่มูลนิธิกลับมาความดีความชอบ และแอบโกงเงินของเด็กนักเรียนที่มาเรียนโรงเรียนนี้
ทำให้บรรดาผู้ปกครอง ได้ทราบความกระจ่าง จึงต้องมาร้องเรียนและให้มูลนิธิออกมาชี้แจง แต่ทว่ามูลนิธิส่งเสริมศีลธรรมชลบุรี และโรงเรียนบูรพาวิทยา ยังไม่มีข้อชี้แจงให้ผู้ปกครองทราบได้ และยังห้ามผุ้ปกครองใช้สถานที่โรงเรียนประชุมหารือจัดตั้งเครือข่ายผู้ปกครอง ทำให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่โรงเรียนและผู้บริหารกำลังช่วยกันปกปิดมากยิ่งขึ้น
แต่ในส่วนของสื่อมวลชนแทบจะไม่มีการนำเสนอข่าวแต่อย่างใด นับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2553
และ 14 พฤษภาคม 2553
ทั้งที่มีผุ้สื่อข่าวมาทำข่าวมากมาย ตามรูป
นับถึงวันนี้ 14 มิถุนายน 2553 ผอ.การศึกษาเขต 1 ก็ยังไม่สามารถจัดประชุมผุ้ปกครองได้ ทั้งที่มีหนังสือออกมาเชิญประชุม บ้าง อนุญาตให้ใช้สถานที่บ้าง ไม่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนบ้าง ออกมาสารพัด ให้เหตุผลว่า ไม่พร้อมบ้าง ติดภารกิจบ้าง หนังสือคู่มือผู้ปกครองยังไม่เร็จ แต่ในวันเดียวกันที่อ้างว่าเลื่อนประชุม กลับมีความพยายามให้ผู้ปกครองบางท่านไปเข้าประชุมเพื่อเกลี้ยดล่อมให้รับสภาพปัญหาที่ตรวจสอบแล้วไปเสีย เพื่อจะได้ยุติปัญหา
โดยได้บทสรุปแบบเดิมๆ ก็คือ ประธานโรงเรียนบูรพาวิทยา ยังคงอยู่ในอำนาจ เป็นไปตามที่รองฝ่ายวิชาการ (ว่าที่ผู้อำนวยการคนใหม่) ประกาศต่อที่ประชุมครู ทั้งหอประชุมโรงเรียน และที่ประชุมเขตการศึกษา ว่า ท่านประธานยังอยู่กับเรา ไม่ไปไหน ยังดูแลพวกเราอยู่ (แม้ว่าเขตการศึกษาจะแต่งหนังสทอมาหลอกลวงผู้ปกครองว่า เข้ายึดโรงเรียนแล้ว แต่แท้จริงแล้ว เป็นการจัดฉากเท่านั้น)
สรุปก็คือ มีการเสนอข่าวจากสื่อมวลชน เพียงแค่ครั้งเดียว คือวันที่ 1 พฤษภาคม 2553 เท่านั้น ตามนี้
ศูนย์ข่าวศรีราชา-ผู้ปกครองไม่พอใจ โรงเรียนชื่อดังกลางเมืองชลบุรี ยุบชั้น ม.ต้น จึงมารวมตัวต้องการให้โรงเรียนเอาชั้น ม.ต้นกลับมา และชี้แจงเหตุผล ของการยุบชั้น ม.1-3 ทั้งที่เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ มีสถานที่และตึกใหญ่โตได้รับมาตรฐาน ไม่มีหนี้สิน และรัฐบาลส่งเงินโครงการเรียนฟรี 15 ปี ๆ ละ 20 ล้าน
วันนี้ (1 พ.ค.53) ภายในโรงเรียนบูรพาวิทยา ต.เสม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี มีผู้ปกครองนักเรียนจำนวนมาก รวมตัวกันขอให้โรงเรียนชี้แจงเหตุผล ของการยุบชั้นเรียน มัธยมศึกษาตอนต้นระดับ ชั้น ม.1-3 โดยมีการบอกกล่าวล่วงหน้า และความไม่โปร่งใสของการบริหารงาน ภายใต้การกำกับดูแล ของประธานกรรมการโรงเรียนของนายบุญชัย กีรติยุตะวงศ์ หรือที่รู้จักกันในนาม ผู้ใหญ่นิ่ม
จนทำให้ นายคเชนทร์เทพ หาญณรงค์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ยื่นหนังสือลาออกเช้าวันนี้ พร้อมกับทำใบชี้แจง แจกให้ผู้ปกครองต่าง ๆ รับทราบถึงปัญหา ที่นายคเชนทร์เทพ ไม่สามารถบริหารงานโรงเรียนให้ก้าวหน้าขึ้นไป เพราะประธานและคณะกรรมการ ไม่ตอบสนองอนุมัติ ในการจัดซื้อจัดจ้าง อุปกรณ์สื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้ดีขึ้น ในหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังพบว่า บัญชีการเงินของโรงเรียนไม่โปร่งใสอีกด้วย
ดังนั้น บรรดาผู้ปกครองจึงมารวมตัว ช่วยกันเรียกร้องชั้น ม.1-3 กลับมา และต้องการคำชี้แจงจากผู้บริหารโรงเรียนว่า ทำไมต้องยุบชั้น ม.1-3 และสาเหตุอะไรที่ทำให้ นายคเชนทร์เทพ ผอ.ต้องมาลาออกกลางคัน ทั้งที่เป็นคนดีมีฝีมือ พัฒนาโรงเรียน จนกระทั่ง เมื่อปี 51 โรงเรียนได้รับใบรับรองมาตรฐานจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และโรงเรียนมีขนาดใหญ่โต ตึอาคารเรียนมีมากมาย พอที่จะสามารถเปิดชั้นเรียน ม.1-3 ได้อย่างสบาย และยังไม่มีหนี้สิน และรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการ ส่งเงินมาให้ ตามโครงการเรียนฟรี 15 ปี ๆ ละ 20,000,000 บาท
โรงเรียนนี้ เปิดมา 4 ปี มีเด็กนักเรียน 1,800 คน ได้รับการสนับสนุนเงินช่วยเหลือจากประเทศจีน เพื่อให้เด็กนักเรียนที่เข้ามาเรียนฟรี แต่บังคับให้เรียนภาษาจีนเพิ่ม จนกระทั่ง มาหยุดช่วยเหลือ เมื่อปีที่แล้ว เนื่องจาก รัฐบาลช่วยเหลือตามโครงการเรียนฟรี 15 ปี และผู้ปกครองช่วยบริจาคเงินสนับสนุนโรงเรียนเป็นระยะ ๆ เนื่องจากโรงเรียนขอไป จนกระทั่งมาทราบอีกที ปีนี้ยุบชั้น ม.ต้นดังกล่าว ทำให้ผู้ปกครองไม่พอใจ เพราะว่า ต้องไปสอบเข้าชั้น ม.1 ที่โรงเรียนอื่น เพราะวิชาเลือก เป็นภาษาจีน ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ
นายธัญญา จุลเจริญ ประธานชุมชุน ต.เสม็ด 2 อ.เมือง จ.ชลบุรี กล่าวว่า ตนต้องการให้ผู้บริหารออกมาชี้แจง สาเหตุการยุบชั้น ม.ต้น เรื่องงบประมาณ ที่ไม่ค่อยจะโปร่งใส เรื่องที่ไม่อนุมัติพัฒนาการเรียนการสอน จนทำให้ ผอ.คเชนทร์เทพต้องลาออกไป ทั้งที่เป็นคนดี มีฝีมือ และพัฒนาโรงเรียนจนมีชื่อเสียงตั้งแต่เริ่มตั้งโรงเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
เชิญเขียนความเห็นที่นี่